งานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
งานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
การดูแลช่วยเหลือนักเรียน คือ การส่งเสริม พัฒนา ป้องกัน และแก้ไขปัญหา เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพ
มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีภูมิคุ้มกันทางจิตใจที่เข้มแข็ง คุณภาพชีวิตที่ดี มีทักษะการดำรงชีวิต และรอดพ้นจากวิกฤติทั้งปวง
ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นกระบวนการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีขึ้นตอนชัดเจน พร้อมทั้งมีวิธีการ และเครื่องมือที่มีมาตรฐาน คุณภาพ และมีมาตรฐานการทำงานที่ตรวจสอบได้โดยมีครู ประจำชั้น / ครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรหลักในการดำเนินงานและบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกสถานศึกษา อันได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาผู้ปกครอง ชุมชน ผู้บริหาร และครูทุกคน ฯลฯ มีส่วนร่วม
วัตถุประสงค์
เพื่อให้โรงเรียนมีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยมีกระบวนการ วิธีการ และเครื่องมือที่มีคุณภาพ และมีมาตรฐาน สามารถตรวจสอบได้
เพื่อส่งเสริมให้ครูประจำชั้น / ครูที่ปรึกษา บุคลากรในโรงเรียน ผู้ปกครอง
ชุมชน หน่วยงาน และองค์กรภายนอกมีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
เพื่อให้นักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือและส่งเสริมพัฒนาเต็มตามศักยภาพ
เป็นคนที่สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
ขอบข่ายการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
นักเรียนทุกคนได้รับการดูแล ช่วยเหลือ
ดำเนินการทั้งส่งเสริม พัฒนา ป้องกัน และแก้ไข
การมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกคนในโรงเรียนทั้งผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง
บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
การดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนทุกคนให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ สามารถดำรงชีวิตอย่างเป็นสุขในสังคม
การดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นระบบที่มีกระบวนการดำเนินงานที่ชัดเจน ประกอบด้วยการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมพัฒนานักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหา และการส่งต่อดังนั้นจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานดังนี้
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 (ส.พ.ป. ลย1)
สถานศึกษา
Ø ผู้บริหารสถานศึกษา Ø ครูทุกคน Ø นักเรียน
Ø คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน Ø บุคลากรอื่นๆ
ผู้ปกครองและชุมชน
Ø ผู้ปกครอง/เครือข่ายผู้ปกครอง Ø ชุมชน
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
Ø ภาครัฐ Ø ภาคเอกชน เอกชน Ø องค์กรอิสระ
Ø องค์กรการบริหารส่วนท้องถิ่น/ปกครองพิเศษ
บทบาทหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นหน่วยงานกลางที่มีบทบาทหน้าที่ ในการกำหนดนโยบายการดำเนินงานไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในการส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติ คือ สถานศึกษาสามารถดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงมีบทบาทหน้าที่และแนวทางดำเนินงานดังนี้
บทบาทหน้าที่
1. กำหนดนโยบายและหน่วยงานที่ รับผิดชอบใน สพฐ. ด้านการดูแล ช่วยเหลือนักเรียน
แนวทางดำเนินงาน
v กำหนดยุทธศาสตร์ เป้าหมาย และจุดเน้นด้านการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
v มอบหมายหน่วยงานที่รับผิดชอบใน สพฐ. อย่างชัดเจน
บทบาทหน้าที่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการประถมศึกษาเลย เขต 1 (สพป.ลย 1.)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นหน่วยงานที่สนับสนุนและส่งเสริมระบบการดูแลช่วยเหลือ นักเรียนของโรงเรียนภายในสังกัด รวมทั้งการประสาน ติดตาม ประเมินผล การปฏิบัติงาน จึงมีบทบาทหน้าที่และแนวทางดำเนินงานดังนี้
บทบาทหน้าที่ของสถานศึกษา
สถานศึกษา เป็นสถาบันที่ประกอบด้วยบุคคลต่างๆ ที่จะทำให้การดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และบุคลากรอื่นๆ
ผู้บริหารสถานศึกษา
ในฐานะที่ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้นำสูงสุดในสถานศึกษาสามารถบริหารจัดการและให้ความสำคัญในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ประสบผลสำเร็จ จึงควรมีบทบาทหน้าที่และแนวทางดำเนินงานดังนี้
ครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษา
ครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษา เป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับนักเรียนมากที่สุด และเป็นบุคลากรหลักในการดูแล ช่วยเหลือนักเรียน จึงควรมีบทบาทหน้าที่และแนวทางดำเนินงานดังนี้
หมายเหตุ การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทุกขั้นตอน ครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษา
ควรรายงานผลการปฏิบัติงานทุกขั้นตอนการดำเนินงาน เพื่อการตรวจสอบปรับปรุงพัฒนา
ครูประจำวิชา/ครูทั่วไป
ครูทุกคนเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร มีหน้าที่ จัดกิจกรรมการเรียนรู้และดูแลช่วยเหลือนักเรียน จึงควรมีบทบาทหน้าที่และแนวทางดำเนินงานดังนี้
บทบาทหน้าที่
ดูแลนักเรียนและให้คำปรึกษาเบื้องต้น
แก่นักเรียน
แนวทางดำเนินงาน
v ศึกษา สังเกต ดูแล รวบรวมข้อมูล
v ประสานงานกับครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษา เพื่อส่งเสริมป้องกัน แก้ไขพฤติกรรมนักเรียน
v จัดกิจกรรมส่งเสริม ป้องกัน แก้ไขเพื่อพัฒนานักเรียน
หมายเหตุ โรงเรียนใดไม่มีครูประจำวิชาให้ครูที่ทำหน้าที่ครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษาปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ครูประจำวิชา
ครูหัวหน้าระดับชั้น
บทบาทหน้าที่
1. ติดตาม กำกับ การดูแลช่วยเหลือ นักเรียนของครูประจำชั้น/ ครูที่ปรึกษา
2. ประสานงานผู้เกี่ยวข้องในการดูแล ช่วยเหลือนักเรียน
แนวทางดำเนินงาน
v วางแผนการกำกับ ติดตาม การทำงานของครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษา ให้ชัดเจนและรับรู้โดยทั่วกัน
v อำนวยความสะดวกแก่ครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษาในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
v บันทึกหลักฐานการปฏิบัติงาน และจัดทำรายงานประเมินผลระบบ ส่งผู้บริหาร
v จัดประชุมครูในระบบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
v จัดประชุมกลุ่มเพื่อปรึกษาปัญหารายกรณี
v ให้คำแนะนำปรึกษาแก่ครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษา
v ติดต่อประสานงานกับเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
นักเรียน
นักเรียน เป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้งเป็นผู้รับการช่วยเหลือ และให้ความช่วยเหลือแก่สถานศึกษา เพื่อให้การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีบทบาทหน้าที่และแนวทางดำเนินงานดังนี้
บทบาทหน้าที่
มีบทบาทหน้าที่ของนักเรียนและสนับสนุนการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
แนวทางดำเนินงาน
v ให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการนักเรียน
v ให้ความร่วมมือในการสอดส่องพฤติกรรมของนักเรียนในสถานศึกษา
v ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
v สร้างเครือข่ายเพื่อนช่วยเพื่อน พี่ช่วยน้อง
v เข้าร่วมกิจกรรมของสถานศึกษา
v ประสานสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับบ้าน
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นองค์คณะบุคคลที่ประกอบด้วยตัวแทนหน่วยงาน ซึ่งมีส่วนในการพัฒนาการศึกษา จึงควรมีบทบาทหน้าที่และแนวทางดำเนินงานดังนี้
บทบาทหน้าที่
ให้การสนับสนุนด้านการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
แนวทางดำเนินงาน
v ให้คำปรึกษาในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
v เสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมพัฒนา แก้ไขนักเรียน
v ติดต่อขอความร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ในการส่งเสริม พัฒนา แก้ไข
v อำนวยความสะดวกในการประสานงาน เมื่อสถานศึกษาต้องการช่วยเหลือ
4. บทบาทหน้าที่ของผู้ปกครองและชุมชน
ผู้ปกครองและชุมชน เป็นบุคคลและกลุ่มบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดกับนักเรียนในพื้นที่มากที่สุด ที่จะทำให้การเอาใจใส่ดูแลนักเรียนได้อย่างดี ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ปกครอง เครือข่ายผู้ปกครอง / ชมรม / สมาคมผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชน
ผู้ปกครอง / เครือข่ายผู้ปกครอง
ผู้ปกครอง / เครือข่ายผู้ปกครอง เป็นบุคคลและคณะบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดกับนักเรียน จึงควรมีบทบาทหน้าที่และแนวทางดำเนินงานดังนี้
ชุมชน
ชุมชน เป็นสังคมที่มีอิทธิพลต่อค่านิยมและพฤติกรรมของเด็ก บุคคลทุกคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือ ส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาตนในแนวทางที่เหมาะสม จึงควรมีบทบาทหน้าที่และแนวทางการดำเนินงานดังนี้
บทบาทหน้าที่
สนับสนุนการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
แนวทางดำเนินงาน
v จัดสภาพแวดล้อมของชุมชนที่เอื้อต่อการพัฒนานักเรียน
v ช่วยสอดส่องดูแลนักเรียน
v เป็นแหล่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียน
v สร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน
v ให้ข้อมูลข่าวสารพฤติกรรมของนักเรียนกับสถานศึกษา
v เข้าร่วมกิจกรรมของสถานศึกษา
5. บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
การดำเนินงานการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายและบรรลุผล จำเป็นยิ่งที่จะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกคนในสังคม และเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีคุณภาพ การประสานงานและการสร้างความร่วมมือร่วมใจในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จึงเป็น สิ่งสำคัญ ซึ่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา ควรประสานความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น กรมสุขภาพจิต ศูนย์อนามัยเขตฯ สาธารณสุขจังหวัด สาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น การปกครองพิเศษ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงแรงงานและ สวัสดิการสังคม สื่อมวลชน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ องค์กรเอกชน องค์กรอิสระ ซึ่งมีความสามารถให้การสนับสนุนและให้ความร่วมมือได้ดังนี้
ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับพฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กวัยต่างๆ
สอดส่องดูแลให้ความช่วยเหลือเด็กและเยาวชนทั้งด้านความปลอดภัยและการแก้ปัญหาพฤติกรรม
ร่วมมือกับสถานศึกษาจัดกิจกรรมส่งเสริมนักเรียนให้ได้รับการพัฒนาตามศักยภาพของแต่ละบุคคล
เป็นแหล่งการเรียนรู้และฝึกงาน และเพิ่มพูนประสบการณ์แก่นักเรียนตามความรู้ ความสามารถ ความสนใจ และความถนัด
ติดตามผล สะท้อนปัญหา และแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการ ดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ให้ความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศที่เป็นประโยชน์และน่าสนใจ
ให้การสนับสนุนและเป็นเครือข่ายในการพัฒนาและขยายผลการดำเนินงานดูแล ช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง